วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ปัญหาในประเทศลิเบีย




ประเทศลิเบีย
“ลิเบีย” (Libya) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย (Socialist People's Libyan Arab Great Jamahiriya) มีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 และมีเมืองหลวงชื่อ "ตริโปลี" เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ สาธารณรัฐชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

สงครามกลางเมืองลิเบีย 2554

เป็นความขัดแย้งของกลุ่มติดอาวุธ ที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศลิเบีย เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การปกครองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของประเทศที่ครองอำนาจมายาวนานร่วม 40 ปี
เหตุความไม่สงบได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และได้ขยายตัวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการลุกฮือขึ้นทั่วประเทศจนถึงขณะนี้ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกจุดประกายขึ้นจากการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในประเทศตูนีเซียและอียิปต์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการประท้วงในวงกว้างทั่วทั้งทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจัดตั้งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เบงกาซี ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟีและจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
หลายประเทศประณามรัฐบาลลิเบียภายใต้การนำของกัดดาฟีอย่างรุนแรง ซึ่งใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ศาลอาญาระหว่างประเทศเตือนกัดดาฟีและสมาชิกรัฐบาลลิเบียว่าอาจได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติซึ่งอายัดทรัพย์ของกัดดาฟีและบุคคลใกล้ชิดจำนวน 10 คน มติดังกล่าวยังสั่งห้ามการเดินทางและยื่นเรื่องลิเบียต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน


สิทธิมนุษยชน

รัฐบาลได้ประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างเปิดเผยและได้ถ่ายทอดการประหารชีวิตทางช่องโทรทัศน์ของรัฐ ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ภาษาตะวันตกถูกนำออกจากหลักสูตรโรงเรียน ประเทศลิเบียเผชิญปัญหาขาดแคลนครูที่มีคุณวุฒิ หญิงที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่ามีต่ำมาก และความพยายามในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อปิดโรงเรียนเอกชนและผสานรวมคำสอนทางศาสนาและทางโลกเข้าด้วยกันนำไปสู่ความสับสน
จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 หน่วยข่าวกรองของลิเบียได้จัดการลอบสังหารผู้คัดค้านทางการลิเบียทั่วโลก และรัฐบาลได้ตั้งค่าหัวสำหรับการสังหารผู้วิพากษณ์วิจารณ์ด้วย ในปี พ.ศ. 2547 ลิเบียยังคงให้ค่าหัวสำหรับผู้วิพากษ์วิจารณ์ โดยบางคนมีค่าหัวสูงถึง 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ชาวลิเบีย 10-20% เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการตรวจตราภายในประเทศ (domestic surveillance committee) ซึ่งมีสัดส่วนผู้แจ้งข้อมูลแก่รัฐบาลระดับเดียวกับซัดดัม ฮุสเซนแห่งอิรัก หรือคิม จอง อิลแห่งเกาหลีเหนือ[59] ความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลนั้นผิดกฎหมายภายใต้กฎหมาย 75 แห่งปี พ.ศ. 2516 และกัดดาฟีได้จัดว่าทุกคนที่กระทำความผิดในการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้นจะถูกประหารชีวิต
ตามดัชนีเสรีภาพสื่อ พ.ศ. 2552 ลิเบียเป็นประเทศที่มีการตรวจพิจารณาสูงที่สุดในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ


จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ




ระหว่างวันที่ 13 และ 16 มกราคม จากความเดือดร้อนจากปัญหาการก่อสร้างหน่วยที่อยู่อาศัยหยุดชะงักและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้ประท้วงในดาร์นาห์ เบงกาซี บานี วาลิด และเมืองอื่นได้ขัดจังหวะและเข้าไปอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยซึ่งรัฐบาลกำลังก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554 ลิเบียบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบหลังจากมีวิดีโอที่เป็นภาพการเดินขบวนประท้วงในเมืองเบงกาซี ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฮิวแมนไรท์สวอตช์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม รัฐบาลตอบสนองต่อความไม่สงบโดยกองทุนลงทุน 24,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยและการพัฒนา

การก่อการกำเริบและสงครามกลางเมือง




การประท้วงและการเผชิญหน้าเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ซึ่งในเย็นวันนั้น ผู้ประท้วงระหว่าง 500 ถึง 600 คนได้เปล่งสโลแกนต่อหน้ากองบัญชาการตำรวจในเบงกาซี ตำรวจได้สลายการชุมนุมอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 38 คน ในอัลเบดาและอัซซินตัน กลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนได้เรียกร้องให้กัดดาฟีลงจากอำนาจและวางเพลิงอาคารตำรวจและความมั่นคงหลายแห่งในอัซซินตัน ผู้ประท้วงได้จัดตั้งเต็นท์ในใจกลางเมือง การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในวันรุ่งขึ้นในเบงกาซี ดาร์นาห์ และอัลเบย์ดา ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 4 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน
“วันแห่งความเดือดดาล” (Day of Rage) ในลิเบียและชาวลิเบียพลัดถิ่นกำหนดไว้วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ประชุมฝ่ายค้านลิเบียแห่งชาติได้ร้องขอให้ทุกกลุ่มซึ่งต่อต้านกัดดาฟีประท้วงในวันดังกล่าว เพื่อระลึกถึงการเดินขบวนประท้วงในเบงกาซีเมื่อสองปีที่แล้ว แผนการประท้วงได้รับแรงบันดาลใจจากการก่อการกำเริบในตูนิเซียและอียิปต์ การประท้วงเกิดขึ้นในหลายเมือง และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงลิเบียยิงกระสุนจริงใส่การประท้วงที่ติดอาวุธเช่นกัน ผู้ประท้วงได้เผาอาคารรัฐการหลายแห่ง รวมทั้งสถานีตำรวจหนึ่งแห่ง

สาเหตุของการปฏิวัติ

เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การปกครองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของประเทศที่ครองอำนาจมายาวนานร่วม 40 ปี กลุ่มต่อต้านรัฐบาลลิเบียมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจัดตั้งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เบงกาซี ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟีและจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย


แนวทางในการแก้ไขปัญหาภายใต้รัฐบาลลิเบีย

ในขณะนี้ปัญหาที่เกิดในประเทศลิเบียยังไม่มีการให้ความช่วยเหลือที่แน่ชัด แต่ทาง “โอบามา” เรียกร้องให้นานาชาติช่วยกันระดมความคิด เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบภายในลิเบีย โดยผู้นำสหรัฐฯได้เสนอการแก้ปัญหาด้วยความช่วยเหลือด้านมนุษยชน